คีลอยด์ คืออะไร
คีลอยด์ คืออะไร ? คีลอยด์ เป็นแผลเป็นชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด มีลักษณะนูนขึ้นจากผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- แผลเป็นขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า Hypertrophic Scar ขนาดความนูนของชนิดนี้มีขนาดเล็ก ไม่เกินขอบแผลออกมา ลักษณะอาจจะเป็นไตแข็ง ๆ เล็กน้อยหลังการผ่าตัด
- แผลเป็นขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า Keloid เป็นแผลที่มีลักษณะนูนใหญ่ เป็นก้อน มองเห็นได้ชัด โดยทั่วไป ขนาดใหญ่ล้นเกินขอบแผล จะเริ่มเห็นแผลนูนชัดหลังการผ่าตัด 2-3 เดือนเป็นต้นไป รอยแผลเป็นประเภทนี้จะไม่ยุบหายไปเองได้ ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นบริเวณ หู หน้าอก แขน ไหล่ ขา เป็นต้น
สาเหตุที่เกิดแผลเป็นคีลอยด์
1.มักจะเกิดจากการดูแลหลังการผ่าตัดที่ไม่ดี เช่น หลังการผ่าตัดแล้วแผลโดนน้ำในช่วงแรก หรือเกิดการแคะ แกะ เกา แผลที่ตกสะเก็ด ทำให้แผลหายช้า
2.เกิดจากพันธุกรรม สำหรับคนที่เป็นแผลเป็นง่ายอยู่แล้ว
3.เกิดจากหมอที่ผ่าตัด กรณีผ่าตัดขนาดใหญ่ อาจจะมีการเลาะผังผืด ขูดสาร สำหรับเคสที่ยาก อาจจะทำให้รอยแผลใหญ่กว่าปกติ ก็สามารถเกิดคีลอยด์ได้
การวินิจฉัยรอยแผลเป็น คุณหมอจะตรวจดูด้วยตาเปล่า ว่า รอยแผลเป็นนั้น คือแผลเป็นขนาดเล็ก (Hypertrophic Scar ) หรือ แผลเป็นขนาดใหญ่ (Keloid ) หากเป็นแผลเป็นขนาดเล็ก การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก แค่หมั่นทายา แล้วรอยแผลจะค่อย ๆ จาง และดีขึ้น และสามารถฉีดสลาย ได้
ส่วนแผลเป็นขนาดใหญ่ อาจจะมีการฉีดย้ำ ๆ เพื่อให้แผลที่นูน เล็กลง ซึ่งสามารถฉีดเข้าไปบริเวณรอยแผลโดยตรง หรือหากแผลนูนใหญ่มาก ๆ เป็นก้อนชัด อาจจะต้องทำการผ่าตัด ก้อนนูนนั้นออก เพื่อให้รอยแผลเล็กลง
ถามมา – ตอบไป
Q : เสริมคาง แผลนอก จะเป็นคีลอยด์มั้ย
A : การทำคาง เป็นแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ความยาวขนาดแผล ประมาณ 1 ซม. สำหรับคนที่ไม่เป็นคีลอยด์ง่าย ไม่เป็นคีลอยด์แน่นอน แต่หากคนที่เป็นแผลเป็นง่าย หรือเกิดจากพันธุกรรม หลังเสริมคางอาจจะเป็นแผลขนาดเล็กไม่ถึงกับเป็นคีลอยด์ ซึ่งสามารถทายาทารอย เช้า – เย็น ต่อเนื่อง รอยแผลจะค่อย ๆ จางประมาณ 1-3 เดือน
Q : หลังผ่าตัดเสริมคาง ไก่ – ไข่ ทานได้มั้ย
A : ไก่ ไข่ เป็นโปรตีน หลังการทำคาง สามารถทานได้ คุณหมอไม่ได้ห้าม แต่หากกังวลเรื่องรอยแผลเป็น แผลคีลอยด์ จะงดเองก็งดได้ ไม่มีปัญหา
Q : การป้องกันหลังการผ่าตัดเพื่อไม่ให้เกิดคีลอยด์
A : การดูแลแผลหลังการผ่าตัด เป็นสิ่งสำคัญ ควรดูแลรักษาแผลให้หายเร็วที่สุด ปิดแผลไว้หลังการผ่าตัด ห้ามโดนน้ำจนกว่าแผลจะแห้งสนิท ห้ามแคะ แกะ เกาแผล หรือบริเวณรอบ ๆ ที่แผลตกสะเก็ด ซึ่งอาจจะทำให้แผลหายช้า และเกิดแผลนูนได้
Q : หากเกิด คีลอยด์ จะดูแลยังไง
A : หากเกิดแผลคีลอยด์ขึ้น เห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะบริเวณไหน หรือการผ่าตัดแบบไหน คุณหมอจะฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของแผลนูน จะทำให้แผลค่อย ๆ ยุบ การใช้เลเซอร์ในการรักษา หรือบางเคสอาจจะต้องผ่าตัดเพื่อให้แผลมีขนาดเล็กลง แต่ยังไงก็ตาม คีลอยด์ประเภทนูนใหญ่มาก ๆ หากรับการผ่าตัดไปแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ หากดูแลรักษาไม่ดี
ไม่อยากเป็นแผลคีลอยด์ ต้องดูแลตัวเองให้ดี เพราะการดูแลหลังการผ่าตัด เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่ต้องคำนึงถึง
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ We Clinic ยินดีให้คำปรึกษาฟรี
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง facebook หรือ Line ได้ที่นี่เลยครับ