หลายคนอาจเคยได้ยินถึงลักษณะตาที่มีหนังตาสองข้างตกลงมาไม่เท่ากัน โดยภาวะนี้จะเรียกกันว่า โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถเกิดได้จากหลากหลายสามารถ ใครที่ส่องกระจกแล้วคิดอยากจะแก้ไขตาสองชั้นที่ไม่เท่ากันของตัวเอง ต้องลองทำความรู้จักกับโรคกันดู ซึ่งในบทความนี้เราได้รวบรวมเอาเรื่องของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมาให้ได้ทำความรู้จักกันว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไร สังเกตได้อย่างไร แล้วมีความรุนแรงแค่ไหน สามารถรักษาแก้ไขได้หรือไม่ มาดูกัน
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) คือ
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) คือ เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันบริเวณรอยต่อของเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อ บางคนจะเรียกโรคนี้ว่า โรค MG ซึ่งเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายระบบของร่างกายเลย แต่วันนี้เราจะโฟกัสที่กล้ามเนื้อตา (Ocular) เป็นหลัก
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นจะมีลักษณะอาการคือหนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น มีการเกิดภาพซ้อนหรืออาจโฟกัสภาพไม่ได้ แล้วอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับการพักผ่อนและการดูแลตัวเอง ซึ่งโรคนี้หากใครเป็น จะต้องสังเกตอาการให้ดี เพราะอาจมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นได้
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียว
สำหรับใครที่มีปัญหาหนังตาอ่อนแรงไม่มากนัก อาจจะแค่หนังตาตก ลืมตาแล้วมีตาสองชั้นไม่เท่ากัน ทำให้แต่งหน้าลำบาก ดูแล้วไม่สมดุล ในบางคนอาจทำให้ตาดูปรือเหมือนคนง่วงนอน ไม่สดชื่นตลอดเวลาจนทำให้เสียความมั่นใจก็สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดแก้ไขชั้นตาได้
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง vs ภาวะหนังตาตก vs ผิวหนังเปลือกตาหย่อน
สิ่งที่คล้ายกันของทั้งสามโรคอย่างกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ภาวะหนังตาตก และผิวหนังเปลือกตาหย่อนเลยคือการมีชั้นตาที่ไม่สวยงาม อาจจะตกหรือปรือ ลืมตาแล้วไม่เท่ากัน แต่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาวะที่เผชิญอยู่นี้เป็นเพราะโรคอะไรกันแน่
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis)
เราสามารถเรียกได้ว่า Myasthenia Gravis หรือโรค MG นี้เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่สามารถเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา โรคนี้จะมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) ขึ้นมายับยั้งหรือทำลายโปรตีนแล้วส่งผลต่อสารสื่อประสาทบริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อตา ทั้งหนังตาและกล้ามเนื้อที่ยึดดวงตา ทำให้เกิดภาวะหนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาได้ยาก มีปัญหาด้านการมองเห็นเช่นการโฟกัสภาพ การเห็นภาพซ้อน
ที่สำคัญคือโรค MG นี้ยังสามารถส่งผลต่อการกลืนหรือระบบหายใจได้ด้วย ซึ่งหากใครมีอาการที่คล้ายคลึงตามที่ได้กล่าวมาก็ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินผลต่อไป เพราะบางครั้งในอาการเหล่านี้ก็สามารถเป็นโรคอื่นได้เช่นกัน
ภาวะหนังตาตก (Ptosis)
ภาวะหนังตาตก (Ptosis) นี้ เป็นหนึ่งในภาวะที่อาจเกิดจากการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็ได้ หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยภาวะนี้สามารถพบได้ในกลุ่มคนที่ทำตาสองชั้นผิดพลาดทำให้มีสิ่งกีดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา บางคนอาจจะรู้สึกระคายเคืองตาได้ ลืมตาไม่ขึ้นเพียงข้างเดียว หรือชั้นตาออกมาไม่เท่ากัน ดังนั้นใครที่สนใจจะทำตาสองชั้นก็ควรเลือกทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดด้วย
ผิวหนังที่เปลือกตาหย่อน (Dermatochalasis)
ผิวหนังที่เปลือกตาหย่อน (Dermatochalasis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้นทำให้ผิวหนังบริเวณเปลือกตาหรือหน้าผากหย่อนคล้อยมาบังลูกตา บางคนอาจเกิดขึ้นเพราะพฤติกรรมเช่น ขยี้ตาบ่อยครั้ง ก็เป็นได้ บางคนอาจเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบดวงตาหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง โดยผิวหนังที่เปลือกตาหย่อนนั้นสามารถผ่าตัดแก้ไขได้เช่นกัน
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีอะไรบ้าง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) มีอาการมากมายที่ต้องทำการสังเกตให้แน่ชัดว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือไม่ เพราะอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ดังนั้น ใครที่มีอาการใกล้เคียงควรปรึกษาแพทย์ให้มั่นใจ หรือใครจะลองมาดูกันก่อนว่าอาการจะมีอะไรกันบ้าง ดังนี้
ตาปรือ ตาง่วง ตาลอย หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น ชั้นตา 2 ข้างไม่เท่ากัน
เป็นอาการที่มีลักษณะเหมือนกับคนตาปรือ ดูไม่สดชื่น ซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อตาอ่อนกำลังจนไม่สามารถเปิดได้เต็มที่ ทำให้ขอบตาด้านบนเลื่อนขึ้นไม่สุดอาจเกิดขึ้นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ทำให้เกิดปัญหาตาสองข้างดูไม่เท่ากัน ไม่สวยสมดุลและแต่งหน้าลำบากได้
ตาขี้เกียจ กลอกตาลำบาก
ตาขี้เกียจเป็นความผิดปกติจากการที่กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตาอ่อนแรงทำให้ดวงตาทำงานไม่สมดุล เมื่อดวงตาข้างใดข้างหนึ่งทำงานมากกว่าก็สร้างภาระกลายเป็นใช้งานข้างที่ปกติมากกว่า ทำให้ค่าสายตาต่างกันมากขึ้นจนเกิดเป็นอาการตาขี้เกียจได้
ตาดำเปิดไม่เท่ากัน ตาเหล่
ไม่ว่าจะเป็นตาดำเปิดไม่เท่ากันหรือตาเหล่ก็สามารถเกิดขึ้นเพราะปัญหาจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทั้งนั้น โดยสาเหตุของอาการตาดำเปิดไม่เท่ากันนั้นจะอยู่ที่เปลือกที่ไม่สามารถเลื่อนเปิดให้เท่ากันได้ เมื่อเปลือกตาข้างหนึ่งเปิดไม่เท่ากับอีกข้างก็ทำให้ตาดำดูไม่เท่ากันได้
ส่วนอาการตาเหล่ในโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาที่ทำงานไม่ประสานกันจึงดูไม่สมดุลหรืออาจเกิดจากระบบประสาทส่วนกลางบกพร่องที่ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติจนกลายเป็นภาวะตาเหล่ได้ หรือในบางคนอาจเป็นเพราะหัวตาเปิดไม่มากพอจนชิดกับตาดำมากเกินไปจึงดูเหมือนตาเหล่ได้
เบ้าตาลึก
เบ้าตาลึกจะมีลักษณะเป็นร่องลึกอยู่เนื้อเปลือกตากลายเป็นดูไม่ค่อยสดใสเหมือนมีชั้นตาเพิ่มขึ้นอีกชั้นจนดูตาโหล ดูง่วงนอน ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของอายุหรือเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
การมองเห็นผิดปกติ เห็นภาพซ้อน
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นสามารถส่งผลต่อการมองเห็นได้ด้วยเพราะความผิดปกติที่กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตาอ่อนแรงลงจึงทำงานได้ไม่ประสานกัน กรอกไปไม่เท่ากัน กลายเป็นมองเห็นภาพซ้อนหรือการมองเห็นได้ไม่ชัด โฟกัสไม่ได้ บางคนอาจมองเห็นภาพแยกกันไปเลย
เลิกคิ้วหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณตาโดยไม่รู้ตัว
เป็นอาการโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ทำให้การสั่งการควบคุมกล้ามเนื้อไปได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการผิดปกติของกล้ามเนื้อโดยรอบจะเกร็งหรือขยับกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัวได้
ความรุนแรงกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นจะมีการแบ่งระดับความรุนแรงเอาไว้ เพราะอาการที่เกิดขึ้นจะต่างกันออกไปตามสาเหตุของแต่ละบุคคล บางคนไม่จำเป็นต้องแก้ไขก็สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่บางคนถือว่าเป็นอย่างรุนแรงควรรักษาอย่างยิ่ง และบางคนก็อาจเกิดความสงสัยว่าต้องขั้นไหนกันล่ะถึงควรจะปรึกษาแพทย์ มาดูกัน
- ระดับที่ 1 เป็นระดับเริ่มต้น สังเกตได้จากขอบเปลือกตาบนขณะลืมตาจะปิดตาดำลงมาเกิน 2 มิลลิเมตร ถือเป็นภาวะเริ่มแรก ไม่รุนแรงมากนัก
- ระดับที่ 2 เป็นระดับกลาง สังเกตได้จากขอบเปลือกตาบนขณะลืมตาจะปิดตาดำลงมาเกิน 3 มิลลิเมตร ถือเป็นภาวะที่ชัดเจนมากขึ้นแล้วว่ามีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุหรือแก้ไขได้
- ระดับที่ 3 เป็นระดับรุนแรง สังเกตได้จากขอบเปลือกตาบนขณะลืมตาจะปิดตาดำลงมาเกิน 4 มิลลิเมตร ถือเป็นภาวะรุนแรงที่ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหมหากไม่แก้ไข
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นนับว่าอันตรายอยู่บ้างเพราะสามารถส่งผลต่อการมองเห็นและกระทบกับชีวิตประจำวันได้เช่นกัน เพราะในคนที่เป็นระดับรุนแรงแล้วจะส่งผลให้มองเห็นได้ไม่เต็มที่ และยังส่งผลกับบุคลิกภาพที่ทำให้ดูไม่สดใสหรือบางคนอาจจะต้องเงยหน้าหรือเลิกคิ้วเพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติจนเข้าไปแย่งสารสื่อประสาททำให้สารสื่อประสาทส่งสัญญาณไปที่กล้ามเนื้อได้น้อย ส่งผลให้กล้ามเนื้อสั่งการได้ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นยังไม่แน่ชัด แต่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนี้
กรรมพันธ์ุ
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรมนั้นสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ยังเด็กซึ่งอาจมีภาวะกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนาหรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมองทำให้เด็กดูตาปรือเหมือนลืมตาไม่ค่อยขึ้น อาจจะมีภาวะตาเอียงหรือตาขี้เกียจร่วมด้วย
จากการศึกษายังมีการพบว่าโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง(Ocular Myasthenia Gravis) มักจะมาคู่กับโรคไทรอยด์ถึง 10-15% ได้เลยทีเดียว ดังนั้นใครที่เป็นโรคไทรอยด์แล้วกล้ามเนื้อตาดูมีความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป
อายุมากขึ้น
กาลเวลาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ เพราะต่อให้เราระมัดระวังเรื่องพฤติกรรมอย่างการขยี้ตา ดึงเปลือกตาหรือการสวมคอนแทคเลนส์แล้ว ก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ตลอดบวกกับความยืดหยุ่นของผิวหนังที่น้อยลงตามอายุที่มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหนังตาที่ถูกดึงหรือถูกใช้งานก็ยังสามารถยืดออกอย่างห้ามไม่ได้
ถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม
สาเหตุนี้อาจเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็นสาเหตุจากพฤติกรรม เช่น ผู้ที่ต้องทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ใช้ดวงตาค่อนข้างมาก ผู้ที่ชอบขยี้ตาบ่อยครั้งหรือผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ เป็นพฤติกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อตายืดหรือบาดเจ็บจนทำให้เกิดความผิดปกติและกลายเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
สาเหตุทางภูมิคุ้มกันอื่นๆ
สาเหตุนี้จะเห็นได้มากในช่วงที่ภูมิคุ้มกันตกลง ร่างกายอยู่ในช่วงอ่อนแอโดยมักพบมากในผู้ที่พักผ่อนน้อย สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ติดเชื้อ HIV เป็นต้น โดยเป็นเพราะเกิดความผิดปกติของประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่เป็นเส้นประสาทใบหน้าซึ่งอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนี้จะเป็นโรค Bell’s palsy หรือโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีกที่ทำให้ยักคิ้วไม่ขึ้น หลับตาไม่สนิท ซึ่งสามารถรักษาให้หายเองได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
วิธีแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ในการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถทำได้โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะเวลาในการแก้ไขหรือรักษาโดยเราจะพูดถึงด้วยกัน 3 วิธี ดังนี้
แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการบริหารเปลือกตา
สำหรับคนที่มีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในระดับเริ่มต้นคือขอบตาบนปิดตาดำขณะลืมตาเกิน 2 มิลลิเมตรแต่ไม่เกิน 3 มิลลิเมตรสามารถใช้วิธีการบริหารเปลือกตาและกล้ามเนื้อตาแก้ไขได้ ด้วยวิธีการ ดังนี้
- บริหารด้วยการปรับโฟกัสตา เริ่มต้นด้วยการใช้สิ่งของหรือมือของเรายื่นออกไปด้านหน้าให้อยู่ในระดับดวงตาจากนั้นก็เลื่อนเข้าหาดวงตาของเราช้าๆ โดยจ้องมองไปเรื่อยๆ พอเกิดภาพซ้อนก็เริ่มใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำ 20 รอบ วันละ 3 ครั้ง ติดกันราว 3 สัปดาห์
- บริหารด้วยการกลอกตา คือการกลอกตาสี่ทิศ ขึ้นบน ลงล่าง เคลื่อนซ้ายไปขวาแล้วเคลื่อนขวาไปซ้าย ทำแบบนี้ 2 รอบต่อวันติดต่อกัน 3 สัปดาห์ขึ้นไป
แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการแก้ไขปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การรักษาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นสามารถใช้ยารักษาได้จะเป็นการแก้ไขที่ตรงจุดที่สุดเพราะสาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันเป็นหลัก ยาที่ใช้จึงเป็นกลุ่มยาที่เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาท กลุ่มยาสเตียรอยด์และกลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและพิจารณาในด้านการรักษาต่อไป
แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการผ่าตัดเปลือกตา ทำตาสองชั้น
นอกจากสองวิธีด้านบนแล้ว เราสามารถแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเริ่มต้นได้ด้วยการผ่าตัดเปลือกตาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการพิจารณาถึงความรุนแรงและวิธีการแก้ไขเพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ทำให้สามารถลืมตาได้มากขึ้น วิธีนี้เรียกว่าเป็นวิธีที่รวดเร็วและเห็นผลชัดเจนเลย โดยสามารถทำร่วมกับการทำตาสองชั้นเพื่อแต่งให้ชั้นตาดูสวยมากขึ้นได้
แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงราคาเท่าไหร่
การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้น อาจมีราคาค่อนข้างสูงเพราะเป็นการปรับแก้ที่ละเอียดอ่อน จำเป็นต้องใช้ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินรักษาซึ่งแต่ละบุคคลก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกับคนที่ต้องการทำตาสองชั้นไปพร้อมกันก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย
ข้อดีหลังจากแก้ไข ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง?
หากกล่าวถึงข้อดีของการแก้ไข ผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้วต้องพูดถึงการมองเห็นเป็นอย่างแรกเพราะสามารถเปิดเปลือกตาได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเลิกคิ้วหรือเงยหน้าอีกต่อไป ทำให้มีบุคลิกภาพที่ดีมากขึ้น สะดวกในการแต่งหน้าเพราะดวงตาทั้งสองข้างเท่ากันแล้ว ยิ่งใครที่ปรับแก้ทำตาสองชั้นไปพร้อมกันด้วยก็จะยิ่งมีดวงตาที่สวยงามเหมาะกับใบหน้ามากขึ้นอีกด้วย
คำถามที่พบบ่อย
รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่ผ่าตัดได้ไหม
สำหรับปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการบริหารกล้ามเนื้อตาหรือใช้ยาตามที่แพทย์สั่งมารักษาได้เช่นกัน เพียงแต่เป็นวิธีการที่ต้องใช้เวลานาน
สรุป
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดปรับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาให้สามารถพยุงเปลือกตาแล้วเปิดขึ้นได้ แต่การจะผ่าตัดแก้ไขนั้นควรมีการปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอย่างการพักผ่อนน้อย การขยี้ตา การใช้สายตานานๆ เป็นต้น
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ We Clinic ยินดีให้คำปรึกษาฟรี
โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง facebook หรือ Line ได้ที่นี่เลยครับ